เครื่องกลึงทำอะไรได้บ้าง
2022-09-27 11:10:02

เครื่องกลึงทำอะไรได้บ้าง

  อย่างแรกที่เราควรรู้กันนะคะ คือ การกลึงคืออะไร

การกลึง คือ หนึ่งในการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ ที่ต้องการให้เปลี่ยนรูปร่างให้เป็นไปตามความต้องการ โดยใช้รูปแบบการ กัด เซาะ ไส กลึง ปาด ปลอก หรืออาจจะแตกต่างกันไปลักษณะงานของชิ้นงานนั้น ๆ ชิ้นงานที่ผลิตขึ้นโดยระบบงานกลึง หรือขั้นตอนการกลึงจะถูกผลิตกลึงตามแบบ

การกลึงมีสองลักษณะ คือ

1.การกลึงปาดหน้า เป็นการตัดชิ้นงานไปตามแนวขวางของวัตถุที่ทำงานกลึง จะใช้ใบมีดปาดผิวหน้าของวัตถุหรือชิ้นงาน ส่วนใบมีดจะขยับขึ้นลงไปแนวในแนวใดแนวหนึ่ง ความตื้นลึกหนาบางขึ้นอยู่กับใบมีด

2. การกลึงปอก คือ การเคลื่อนมีดตัดไปตามแนวขนาน กับแนวแกนของชิ้นงาน

 

  เครื่องกลึงเป็นเครื่องจักรหลักที่ใช้ในกระบวนการกลึง แบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามลักษณะของการทำงานคือ

1.เครื่องกลึงที่ควบคุมการทำงานด้วยมือ หรือเครื่องกลึง manual

เครื่องกลึงทำอะไรได้บ้างเครื่องกลึง Manual มีการควบคุมแบบ manual ป้อนเครื่องมือตัดโดยใช้มือหมุน (Hand Wheel) หมุุนเคลื่อนเครื่องมือตัดเข้าตัดชิ้นงานในแกนต่างๆ ตามระยะต้องการ

ส่วนประกอบของเครื่องกลึง Manual

เครื่องกลึงแบบ manual แบ่งส่วนประกอบหลักๆ ออกได้ดังนี้

1) ฐาน (Bed) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รองรับชิ้นส่วนทั้งหมดของเครื่องกลึง ฐานของเครื่องกลึงทำจากเหล็กหล่อซึ่งมีคุณสมบัติในการรองรับน้ำหนักได้ดี

2) หัวเครื่อง (Head Stock) หัวเครื่องประกอบด้วยชุดรับส่งกำลังจากมอเตอร์ ทำหน้าที่รับกำลังจากมอเตอร์หลักของเครื่องส่งถ่ายที่แกนเพลาหลักของเครื่อง (main spindle)

3) มอเตอร์หลัก (Main Motor) ทำหน้าที่ในการหมุนและส่งกำลังผ่านระบบขับเครื่องของเครื่องกลึง ไปจนถึงเพลาหลักของเครื่องกลึง

4) เพลาหลัก (Main Spindle) จะยึดติดกับหัวจับชิ้นงานรับกำลังมาจากมอเตอร์หลัก ส่งกำลังผ่านระบบขับเคลื่อนๆ ต่างๆ. ความเร็วในการหมุนของเพลาหลักสามารถปรับเปลียนได้แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับระบบส่งกำลังที่ออกแบบมา ซึ่งจะสามารถปรับได้เป็นขั้นๆ

ลักษณะการทำงาน

มอเตอร์หลัก : ทำหน้าที่เป็นต้นกำลังในการหมุน

มูเล่ย์ : ทำหน้าที่เป็นตัวรับและส่งกำลังในระบบสายพาน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของมู่เลย์จะสัมพันธ์กับความเร็วของเพลาหลัก

สายพาน : จะประกอบอยู่กับชุดของมู่เลย์ช่วยในการส่งกำลัง

เฟือง : นอกจากสายพานแล้ว เฟืองยังเป็นชิ้นส่วนที่มีความสำคัญมากในการส่งกำลังๆ หลายชนิด เช่นเฟืองตรง

เพลาขับหรือเพลาหลัก : ยึดติดอยู่กับเพลาหลัก

 

2.เครื่องกลึงที่ควบคุมการทำงานแบบอัตโนมัติ หรือ เครื่องกลึง CNC

เครื่องกลึงทำอะไรได้บ้างเครื่องกลึง CNC คือเครื่องจักรกลอัตโนมัติที่ทำงานได้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการผลิตชิ้นส่วนวัสดุให้ได้ขนาดและรูปทรงตามที่ต้องการด้วยการกลึง เหมาะสำหรับงานกลึงที่ต้องการความละเอียดหรือมีความซับซ้อนสูง

ยิ่งไปกว่านั้น เพราะการควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องกลึง CNC สามารถก้าวข้ามขีดจำกัดของเครื่องจักรแบบเดิมๆ ได้ ทั้งความละเอียดในการควบคุมที่ละเอียดถึง 0.001 mm. รวมถึงสามารถควบคุมเครื่องกลึงได้หลายเครื่องในคราวเดียว ทำให้นอกจากความละเอียดแล้ว เรายังสามารถได้ชิ้นงานหลายชิ้นด้วยความรวดเร็วอีกด้วย

โครงสร้างพื้นฐานของเครื่องกลึง CNC

1. ระบบขับเคลื่อน ประกอบด้วยสองระบบหลัก คือ ระบบส่งกำลังหลักและระบบขับเคลื่อนแกน

2. ระบบจับยึด ระบบจับยึดของเครื่องกลึง CNC มีสองส่วน คือส่วนที่ใช้จับยึดชิ้นงาน และส่วนที่ใช้จับยึดเครื่องมือ

3. ระบบตรวจวัด ระบบตรวจวัดสำหรับเครื่อง CNC จะมีการติดตั้ง Linear Scale ซึ่งคืออุปกรณ์ตรวจวัด

4. ระบบไฟฟ้า ส่วนใหญ่ระบบไฟฟ้าของเครื่องกลึง CNC จะเป็นระบบไฟฟ้าแบบ 3 เฟส 380 โวลต์เป็นหลัก ยกเว้นเป็นเครื่องแบบ MINI CNC ที่จะใช้ไฟฟ้าแบบ 220 โวลต์

5. ระบบควบคุม เครื่องกลึง CNC จะมีการควบคุมการทำงานทั้งหมดผ่านคอมพิวเตอร์ โดยจะอาศัย G Code และ M Code ในการป้อนข้อมูล ซึ่งสามารถควบคุมได้ตั้งแต่การเคลื่อนที่ง่ายๆ ไปจนถึงการปรับรายละเอียดการกลึง

การทำงานเบื้องต้นของเครื่องกลึง CNC

หลักการทำงานของเครื่องกลึง CNC นั้นมีความแตกต่างจากเครื่องกลึงแบบอื่นๆ เนื่องจากมีคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทำให้เราต้องพึ่งพาผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับภาษาเครื่องจักร หรือโปรแกรมต่างๆ มากพอสมควร โดยมีการทำงานดังนี้

ผู้ใช้ป้อนคำสั่งลงในระบบโดยใช้คำสั่งที่เครื่องกลเข้าใจ (G Code, M Code) ผ่านทางแป้นพิมพ์ หรืออุปกรณ์ป้อนข้อมูลอื่นๆ เช่น G00 X15 Y30 คือ คำสั่งให้เครื่องมือตัด (Cutting Tool) เคลื่อนที่ไปในตำแหน่ง X = 15 และ Y = 30 จากจุด 00

คำสั่งจะถูกส่งผ่านระบบควบคุมผ่านไปยังมอเตอร์และเครื่องขยายสัญญาณ เพื่อให้มีระดับสัญญาณเพียงพอทุกส่วนได้

มอเตอร์ที่ได้รับคำสั่งดำเนินการเคลื่อนที่แท่นเลื่อนไปตามที่ค่าที่กำหนดไว้ข้างต้น รวมถึงควบคุมความเร็วของการหมุนให้เหมาะสม

ระบบวัดขนาดจะส่งสัญญาณไปทางระบบควบคุม ว่าต้องมีการเคลื่อนเครื่องตัดที่ไปในแนวไหน ระยะทางเท่าใด หากเป็นการทำงานละเอียดอาจมีการโปรแกรมอุปกรณ์การตัดชิ้นงานเอาไว้ เพื่อการทำงานที่ไหลลื่นมากขึ้น

เครื่องจักรดำเนินการทำงานตามคำสั่งที่ป้อนไว้

ข้อดีของเครื่องกลึงแต่ละแบบ

เครื่องกลึง CNC มีข้อดีดังนี้

1.ได้งานที่มีความละเอียด มีประสิทธิภาพ เนื่องจากเครื่องกลึง CNC มีการตรวจวัดระยะและควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ ทำให้มีความละเอียดสูงกว่าการทำด้วยมือ

2.ได้งานที่มีมาตรฐาน คุณภาพเท่ากันเสมอ เพราะเครื่องกลึง CNC ไม่มีอาการเหนื่อย แรงตก หรือการกะระยะผิดพลาดจากเดิม

3.ใช้พื้นที่ในการทำงานน้อย สามารถทำงานได้หลากหลาย การทำงานด้วยเครื่องกลึง CNC หลักๆ ใช้เพียงคนเขียนคำสั่งเพื่อทำการผลิตชิ้นงานเท่านั้น ซึ่งสามารถควบคุมความหลากหลาย รวมถึงความละเอียดได้โดยการใช้โปรแกรมลดการใช้แรงงานในการผลิต การใช้แรงงานคนกับเครื่อง CNC หลักๆ จะมีเพียงผู้เขียนโปรแกรมหรือผู้ป้อนคำสั่งเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญการกลึงก็สามารถทำงานละเอียดอ่อนได้

4.ลดเวลาในการผลิต การเขียนโปรแกรมกำหนดการทำงานเพียงโปรแกรมเดียวสามารถใช้ได้กับเครื่อง CNC มากกว่า 1 เครื่อง ทำให้สามารถทำหลายๆงานในเวลาเดียวกันได้

เครื่องกลึง manual มีข้อดีดังนี้

1. งานไม่ซับซ้อน และจำนวนน้อยเครื่องกลึง manual จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า เครื่่องประเภท CNC

2. เครื่องกลึงแบบ Manual จะคล่องตัวกว่าและยังเป็นที่นิยมใช้อย่างแผร่หลาย

3. เครื่องกลึงแบบ Manual จะมีราคาต่ำกว่าเครื่องกลึง CNC 

 

สุทอง แมชชีนเนอรี่ 
ดำเนินการธุรกิจนำเข้าและเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องจักรอุตสาหกรรมงานโลหะ
เครื่อง CNC และ Cobot (Collaborative Robot) ครบวงจร
● สามารถเข้าชมเครื่องจักรได้ที่โชว์รูม สุทอง แมชชีนเนอรี่ 
● เวลาเปิดทำการ : จันทร์-เสาร์ (8.00-17.00 น.) โทร 02-896-1818 
● ติดตามข่าวสารได้ที่แฟนเพจ : https://www.facebook.com/suthong1990

 

#เครื่องกลึง #เครื่องกลึงCNC #เครื่องกลึงManual #นำเข้าเครื่องจักร #เครื่องจักรไต้หวัน #lathe #machinery

 
ไอคอนยืนยันโดยชุมชน
 
 
 
 
ไอคอนยืนยันโดยชุมชน